เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 3 ประการ

ธรรม 3 ประการ

[353] ธรรม 3 ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม 3 ประการที่ควรเจริญ
ธรรม 3 ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม 3 ประการที่ควรละ
ธรรม 3 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม 3 ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม 3 ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม 3 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม 3 ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม 3 ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม 3 ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ

1. สัปปุริสสังเสวะ___(การคบหาสัตบุรุษ)
2. สัทธัมมัสสวนะ___(การฟังพระสัทธรรม)
3. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ___(การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)1

นี้ คือธรรม 3 ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม 3 ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ สมาธิ2 3 ได้แก่
1. สมาธิที่มีทั้งวิตก และมีวิจาร
2. สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร
3. สมาธิที่ไม่มีวิตก และไม่มีวิจาร
นี้ คือธรรม 3 ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม 3 ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ เวทนา3 3 ได้แก่
1. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 311 หน้า 286 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 305 หน้า 273 ในเล่มนี้
3 ดูเทียบข้อ 305 หน้า 266 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :372 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 3 ประการ

2. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
3. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข)
นี้ คือธรรม 3 ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม 3 ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ ตัณหา1 3 ได้แก่

1. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
2. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
3. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)

นี้ คือธรรม 3 ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม 3 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ อกุศลมูล2 3 ได้แก่
1. อกุศลมูลคือโลภะ (ความอยากได้)
2. อกุศลมูลคือโทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
3. อกุศลมูลคือโมหะ (ความหลง)
นี้ คือธรรม 3 ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม 3 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ กุศลมูล3 3 ได้แก่
1. กุศลมูลคืออโลภะ (ความไม่อยากได้)
2. กุศลมูลคืออโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย)
3. กุศลมูลคืออโมหะ (ความไม่หลง)
นี้ คือธรรม 3 ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 305 หน้า 264 ในเล่มนี้
2 ดูเทียบข้อ 305 หน้า 259 ในเล่มนี้
3 ดูเทียบข้อ 305 หน้า 259 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :373 }